ยาบำรุงตับในสุนัขและแมว (Hepatoprotectants in Dogs and Cats)

Hepatoprotectants in dogs and cats

 ในปัจจุบันยาบำรุงตับที่มีการยืนยันและมีการ Support ให้ใช้ในแมวและสุนัขแบบ long-term treatment ได้ มีเพียง 3 ตัวเท่านั้น คือ SAMe, Silybin และ Vitamin E นอกเหนือจากนี้ถือเป็นการใช้ยาแบบ extra-label use ในไทย

       1. S-adenosylmethionine(SAMe)

  • SAMe เป็นสารที่พบได้ในร่างกายอยู่แล้ว เกิดจากการรวมตัวของ methionine กับ adrenosine triphosphate(ATP)
  • SAMe ช่วยเพิ่ม glutathione ในตับ(เป็น free radical scavenging)
  • SAMe มี oral bioavailability ที่ต่ำ( ความหมาย ว่า กินยาเข้าไป 1 เม็ด อาจดูดซึมได้แค่ 5-10% ของยาทั้งเม็ด) เพราะฉะนั้นรูปแบบของยาที่ใช้สำคัญมากๆ ต้องเลือกยี่ห้อที่ oral bioavaility สูงๆ(อาจสอบถามเซลล์บริษัทนั้นๆว่ายาบำรุงตับที่ขายอยู่มี oral bioavaility แค่ไหนและมี clinical efficacy support ด้วยมั้ย )
  • อาหารในกระเพาะอาหารจะลดการดูดซึมของ SAMe เพราะฉะนั้นควรให้ยาขณะท้องว่าง
  • dose 20 mg/kg PO q24h ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง

       
      2. Silybin

  • เป็นสารสกัดจากต้น “ milk thistle”
  • Silybin ยับยั้งการสร้าง free radicles และเพิ่มการสร้าง RNA, DNA และโปรตีนในเซลล์ตับทำให้เกิดการสร้างเซลล์ตับใหม่ แล้วยังช่วยลดการเกิด hepatic fibrosis
  • Silybin ช่วยเพิ่มปริมาณ glutathione ในเซลล์ตับ
  • dose 5-50 mg/kg PO q24h
  • oral bioavailability ต่ำคล้าย SAMe
  • ** Silybin ที่เป็นยาของคน ไม่มีการศึกษาในสัตว์ เพราะฉะนั้น oral bioavaility มีโอกาสที่จะไม่ดีหรือต่ำมาก(อาจต้องใช้ dose ที่สูงมาก)
  • Silybin complex with phosphatidylcholine(Siliphos)สามารถใช้ dose น้อยๆได้เลย เช่น 3-5 mg/kg เพราะมี oral bioavaility สูงกว่ารูปแบบอื่นๆเป็น 10 เท่า

     
      3. Vitamin E

  • เป็น antioxidant ลดการเกิด oxidative damage
  • ป้องกันการเกิด bile acid-induced hepatic injury
  • ลดการหลั่ง apoptosis-inducing factor ในเซลล์ตับ
  • recommended for cholestatic and necroinflammatory hepatopathies
  • dose 10-15 IU/kg/day PO

 

      N-acetylcysteine

N-acetylcysteine เป็นยาที่ผ่านการรับรองจาก FDA สำหรับใช้ในคนเท่านั้น โดยใช้เป็น mucolytic agent และ acetaminophen antidote (oral) มีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ hepatoprotectivd effects ของN-acetylcysteine เช่น เพิ่มการขนส่ง oxygen ในราย acute liver failure, effects on hepatic mitochondrial energy metobolism และฤทธิ์ในการช่วยลดอักเสบ

     Summary

ยา 3 ตัวนี้ (Silybin, SAMe, Vit.E) สามารถให้ยาวๆได้เลยร่วมกับ Ursodeoxycholic acid (UDCA) ในสุนัขและแมวที่มีปัญหาของ Hepatobiliary system

     End note

FDA จัดกลุ่มยาบำรุงตับเป็น supplement ไม่ใช่ยา(drug) ทำให้ข้อมูลในส่วนของ scientific evidence  for clinical efficacy ของผลิตภัณฑ์ยังน้อยมากและผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลประสิทธิภาพ (clinical efficacy) ตราบใดที่ฉลากไม่ระบุหรืออ้างสรรพคุณทางยา

 ปี 2013 มี review article เกี่ยวกับ Nutraceuticals for canine liver disease พบว่ามีเพียง 2 reviews เท่านั้นที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ dietary supplements as hepatoprotectants for dogs โดยใช้เอกสารอ้างอิงเพียง 8 clinically publications

 

บทความโดย

.สพ. วิทวัส ศิริเดชรัตนกุล

 

อ้างอิงข้อมูล

Sathidpak A., 2021 Hepatobiliary Disease in Cats, Feline GI series : THE TRIAD

Vandeweerd, J. M., Cambier, C., & Gustin, P. (2013). Nutraceuticals for canine liver disease: assessing the evidence. Veterinary Clinics: Small Animal Practice, 43(5), 1171-1179.

Hand, M.S., Thatcher, C.D., Remillard, R.L., Roudebush, P. & Novotny, B.J., 2011. Small Animal Clinical Nutrition. 5th Edition, Mark Morris Institute

Baumann J. Ghosh S. Szakmany T. et al.Short-term effects of N-acetylcysteine and ischemic preconditioning in a canine model of hepatic ischemia-reperfusion injury.Eur Surg Res. 2008; 41: 226-230

Flora K. Hahn M. Rosen H. et al.Milk thistle (Silybum marianum) for the therapy of liver disease.Am J Gastroenterol. 1998; 93: 139-143

วันที่โพส : 25 สิงหาคม 2566