Canine Chronic Enteropathy

 

Canine chronic enteropathy (CIE) คือภาวะที่สุนัขมีอาการของโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป อาการที่พบในสุนัข CIE ได้แก่ ท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลดและความอยากอาหารลดลง

CIE เป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติและเกี่ยวข้องกับหลายๆปัจจัย ทั้งความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (innate and adaptive immunity) ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของ mucosal immunity ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อม เช่น อาหาร และ gut microbiota ในสุนัขและแมวสายพันธุ์ที่มีความไวต่อการเกิดโรค

 

ความชุกของโรคและการ subclassified

  • CIE สามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลินิก ผลตรวจทางพยาธิวิทยาและการตัดสาเหตุอื่นๆที่ไม่ใช่ออกไป (exclusion of other underlying causes)
  • ความชุกของ CIE ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่ามากกว่า 20 - 30% ของสุนัขที่มีอาการอาเจียน/ท้องเสียและสามารถพบ CIE ได้ในสุนัขทุกสายพันธุ์

 

ปัจจุบัน CIE ถูก subclassified โดยใช้การตอบสนองต่อการรักษา ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

1. Food-responsive enteropathy (FRE)

2. Antibiotic-responsive enteropathy (ARE)

3. Steroid-responsive (SRE) or immunosuppressant-responsive enteropathy (IRE)

4. Non-responsive enteropathy (NRE)

  

1. Food-responsive enteropathy (FRE)

สุนัข CIE ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เมื่ออาการของโรคดีขึ้นหรือหายได้โดยมีการปรับเปลี่ยนอาหารที่แนะนำให้ภายใน 2-4 สัปดาห์ จากการทำ elimination diet trial ด้วยการให้อาหารโปรตีนใหม่ๆและจำกัดจำนวนโปรตีนในอาหาร (limited-ingredient novel protein)และคาร์โบไฮเดรคตหรือการใช้ hydrolyzed protein diet

 FRE เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดในสุนัข CIE (50–65% of CIE dogs) ซึ่งส่วนมากจะพบใน younger dogs และพบว่าอาการทางคลนิกจะไม่รุนแรงเท่ากับสุนัข CIE ใน subclass อื่น

สุนัขกลุ่มนี้ตอบสนองที่ดีในระยะยาวโดยใช้ commercial hydrolyzed protein หรือ limited- ingredient novel protein diets

 มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้อาหารที่เป็นโปรตีนใหม่ๆและจำกัดโปรตีนในอาหาร (limited ingredient elimination) หรือการใช้ hydrolyzed protein diet ในแง่ของ gastrointestinal microbiome และ metabolome

 

2. Antibiotic-responsive enteropathy (ARE)

สุนัข CIE ที่จัดอยู่ใน subclass ARE เมื่ออาการของโรคหายหรือมีการตอบสนองที่ดีขึ้นในระยะยาวเมื่อให้ยาปฎิชีวนะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (metronidazole and/or tylosin) อย่างไรก็ตามการให้ยาปฎิชีวนะสามารถส่งผลกระทบต่อจุลชีพในระบบทางเดินอาหาร (intestinal microbiome) และทำให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาได้

พบว่าส่วนมากของสุนัขที่ตอบสนองที่ดีต่อยาปฎิชีวนะในช่วงแรกเมื่อหยุดยาจะพบอาการของโรคกลับมาเป็นอีก ดังนั้นสาเหตุที่แท้จริงของ ARE (มีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อ subclass นี้เป็น “ idiopathic intestinal dysbiosis ”) และการใช้ยาปฎิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับ diagnostic work-up of canine CIE ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

 

3. Steroid-responsive (SRE) or immunosuppressant-responsive enteropathy (IRE)

สุนัขที่ต้องรักษาด้วย steroid or immunosuppressive drugs แล้วอาการทางคลินิกหายได้หรือดีขึ้นจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น steroid-responsive (SRE) หรือ immunosuppressant-responsive enteropathy (IRE) ซึ่งมักจะเรียกว่า idiopathic inflammatory bowel disease (IBD) ดังนั้นการประเมินการวินิจฉัยสุนัขที่สงสัยว่าอาจจะเป็น SRE/IRE จึงมีความซับซ้อนและ challenge ยาที่นิยมใช้รักษา SRE/IRE ได้แก่ prednisolone หรือ budesonide และยากดภูมิกลุ่มอื่นๆเช่น cyclosporine, chlorambucil, หรือ azathioprine ( follows a top- down approach)

 กลุ่ม targeted pathway-specific treatment strategies (เช่น therapeutic monoclonal antibodies targeting pro-inflammatory cytokines [TNF-α blockers] และ integrins [integrin blockers]) เป็นอีกตัวเลือกนึงในการรักษา SRE/IRE  ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ steroid แต่ยาในกลุ่มนี้ยังไม่มีการศึกษามากนักในทางสัตวแพทย์   

 

ประมาณ 15–43% ของสุนัขในกลุ่ม SRE/IRE ที่มีการตอบสนองที่ไม่ดีจากการรักษาทางยาจะถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (non-responsive enteropathy : NRE)

 

ในอนาคตยังรอผลการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับประโยนช์ของการใช้ยาในกลุ่ม additional or alternative immunomodulatory treatments รวมถึงการใช้ probiotics (e.g., Enterococcus faecium or the highly concentrated probiotic strains found in Visbiome), prebiotics (e.g., β-1,3/1,6-D-glucan) หรือ synbiotics, fecal microbiota transplantation (FMT) และการใช้ stem cell therapy

 ความก้าวหน้าในการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ immunopathogenesis, microbiome, metabolome, hypovitaminoses B12 and D, and several biomarkers of inflammation ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในอนาคตเพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นของ CIE

 

ที่มา

 Jergens, A. E., & Heilmann, R. M. (2022). Canine chronic enteropathy—Current state-of-the-art and emerging concepts. Frontiers in Veterinary Science, 9, 923013.

 Allenspach, K., & Mochel, J. P. (2022). Current diagnostics for chronic enteropathies in dogs. Veterinary Clinical Pathology, 50, 18-28.

Dandrieux, J. R. S., & Mansfield, C. S. (2019). Chronic enteropathy in canines: prevalence, impact and management strategies. Veterinary Medicine: Research and Reports, 203-214.

วันที่โพส : 13 สิงหาคม 2567