การดูแลสุนัขและแมวสูงวัย 2023 AAHA Senior care Guideline

Update Guideline ของ 2023 AAHA Senior Care Guideline for Dogs and Cats ซึ่งในปัจจุบันพบว่าจำนวนประชากรน้องหมาและน้องแมวสูงวัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ ดังนั้นทาง American Animal Hospital Association (AAHA) ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติของสัตวแพทย์ในการเฝ้าติดตามเพื่อช่วยคุณภาพชีวิตของสัตว์วัยนี้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

 

1.  ปัจจัยที่ควรคำนึงในการดูแลสัตว์สูงอายุ เช่น

- การจัดการด้านพฤติกรรม

- ความตระหนักถึงโรคอื่นๆที่ทำให้เสียชีวิตได้

- การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

- การบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับวัยชรา

 

2. วางแผนนัดหมายสัตว์เลี้ยงล่วงหน้า

- กำหนดระยะเวลาเฝ้าติดตามอย่างเป็นพิเศษ

- แนะนำถึงการดำเนินไปของโรคที่เกี่ยวกับตัวสัตว์และการพัฒนาของโรคนั้นๆ

  • ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและการจัดการของสัตว์สูงอายุแก่เจ้าของสัตว์

 

3. ทำให้เจ้าของรู้สึกไว้ใจว่าสัตวแพทย์สามารถช่วยดูแลสัตว์ในช่วงวัยนี้ได้

 

Diagnostic Tests and Recommended Frequencies for Senior Dogs and Cats

ความถี่ในการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฎิบัติการสำหรับสุนัขและแมวสูงวัย ได้แก่

  • การตรวจหาพยาธิในเม็ดเลือดและพยาธิหนอนหัวใจเป็นประจำทุกปีในสุนัขสูงวัย
  • การตรวจอุจจาระเพื่อเฝ้าระวังการติดพยาธิในทางเดินอาหาร อย่างน้อย 1 - 4 ครั้ง/ปี ในสุนัขสูงวัยและ 1 - 2 ครั้ง/ปีในแมวสูงวัย
  • การตรวจเลือด (CBC + Blood chem) และตรวจปัสสาวะ ทุก 6-12 เดือนในสุนัขและแมวสูงวัย
  • การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroxine : T4) ทุก 1 ปี ทั้งในสุนัขและแมวสูงวัย
  • ตรวจวัดความดันร่างกายอย่างน้อยทุก 1 ปีในสุนัขสูงวัยและทุก 6-12 เดือนในแมวสูงวัย
  • การตรวจวินิจฉัยทางรังสี(เอกซเรย์และอัลตราซาวน์) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าน์หัวใจ(ECG)
  • การตรวจ Urine protein : creatinine ratio
  • การตรวจชุดทดสอบภาวะโรคหัวใจ (NT-pro BNP) เป็นประจำทุกปีในสุนัขและแมวสูงวัย

 

สามารถเข้าไป Download บทความ Guidelines อย่างละเอียดได้ที่  https://www.aaha.org/senior-care?fbclid=IwAR1pAC5BMYlHdkWrcr7esyOEZp9PzAZuCIzUQ4xZ6SqqiufBx6E2zhLcVA8&mibextid=Zxz2cZ

วันที่โพส : 14 กันยายน 2566