Nutritional Management of Hyperlipidemia
ภาวะไขมันในเลือดสูง(hyperlipidemia) อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตและมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติและโรคในสุนัขและแมว เช่น ตับอ่อนอักเสบ, อาการชัก, นิ่วในถุงน้ำดีและความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย(peripheral neuropathies) อุบัติการณ์ของภาวะไขมันในเลือดสูง เพิ่มขึ้นตามอายุในสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง เช่น มิเนียเจอร์, ซเนาเซอร์ และ ยอร์คเชียเทอเรีย
พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะไขมันในเลือดสูงและการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบในมนุษย์และพบความสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกันในสุนัข การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขที่มีภาวะhypertriglyceridemia (serum triglycerides มากกว่า 800 mg/dL) กับการเพิ่มขึ้นของ canine pancreatic lipase immunoreactivity นอกจากนี้ ในสุนัขที่มีความผิดปกติของ การเผาผลาญไขมันตั้งแต่กำเนิด(inborn error in lipid metabolism) หรือมีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน, hyperthyroidism หรือ hyperadrenocorticism สามารถทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้
Overview of Lipid Metabolism
โดยปกติแล้วเอนไซม์ lipase จากตับอ่อนจะถูกหลังออกมาในลำไส้เล็กส่วนต้นเพื่อย่อยไตรกลีเซอไรด์ในอาหารได้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล กรดไขมันเหล่านี้จะถูก emulsified กับ bile salts แล้วถูกนำเข้าสู่enterocytes เพื่อเปลี่ยนเป็น chylomicrons และท้ายที่สุดจะถูกส่งไปยังตับเข้าสู่กระบวนการเมตาบอลิซึมและรวมตัวกับโปรตีนและสารประกอบไขมัน เรียกว่า very low-density lipoproteins (VLDL)
chylomicrons มาจากไขมันในอาหารและสามารถคงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 2 - 12 ชั่วโมง หลังจากเปลี่ยนเป็น VLDL แล้ว lipoproteins ที่เกิดขึ้นจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล, กรดไขมันและสารประกอบอื่นๆเช่น วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน กรดไขมันจะถูกแยกออกจาก VLDL โดย lipoprotein lipase (LPL) ทำให้ VLDL ถูกเปลี่ยนเป็น LDL (low-density lipoprotein)
คอเลสเตอรอลจะจับกับ LDL ในกระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็น HDL( high-density lipoprotein) จากนั้นจะถูกลำเลียงกลับไปยังตับ สุนัขและแมวขาดเอนไซม์ที่เปลี่ยนคอเลสเตอรอลให้กลับไปเป็น LDL (ซึ่งต่างจากในมนุษย์) ทำให้คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ของสุนัขและแมวปกติจะอยู่ในรูปของ HDL ร่างกายสุนัขและแมวสร้าง LPL เพิ่มขึ้นโดยอาศัยอินซูลินและการทำงานของ LPL ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนไทรอยด์และถูกยับยั้งโดย glucocorticoids
Primary Disorders of Lipid Metabolism
ภาวะพร่องการทำงานของ LPL พบได้ในแมวที่เป็น primary hyperchylomicronemia และการทำงานของ LPL ที่ลดลงในสุนัขพันธุ์ miniature schnauzers เชื่อว่าสัมพันธ์กับภาวะ idiopathic hypertriglyceridemia
มีการศึกษาหนึ่งพบว่า ประมาณ 32% ของสุนัขพันธุ์ miniature schnauzers ที่ไม่แสดงอาการของโรคตับอ่อนอักเสบมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากกว่า 800 mg/dL ระดับความรุนแรงของภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพิ่มสูงขึ้นตามอายุและประมาณ 75% ของสุนัขพันธุ์ miniature schnauzers ที่มีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไปพบภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia)
อีกการศึกษาพบว่าสุนัขพันธุ์ miniature schnauzers ที่มีภาวะ severe hypertriglyceridemia มีความเสี่ยงที่จะพบการเพิ่มขึ้นของ pancreatic lipase immunoreactivity levels (> 200 mg/dL) มากกว่าสุนัขที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติถึง 4.5 เท่า
ภาวะ hypercholesterolemia (without hypertriglyceridemia) มีรายงานในสุนัขพันธุ์ Shetland sheepdogs, rough-coated collies, Briards และ West Highland white terriers ซึ่งเชื่อว่าสัมพันธ์กับการลดลงของการ clearance HDL โดยตับ
Secondary Disorders of Lipid Metabolism
ภาวะ hyperthyroidism สัมพันธ์กับการ clearance ที่ลดลงของ VLDL โดย peripheral tissues และการclearance ที่ลดลงของ LDL โดยตับ การขาดฮอร์โมนอินซูลินในโรคเบาหวานส่งผลให้การสร้าง LPL ลดลง รวมถึงลดการกระตุ้น hormone-sensitive lipase (HSL) และส่งผลเพิ่มระดับของกรดไขมันในกระแสเลือดตามมา การเพิ่มขึ้นของระดับ cortisol พบได้ในสัตว์ที่มีภาวะ hyperadrenocorticism ซึ่งคล้ายกับในรายที่ระดับการทำงานของ HSL ที่เพิ่มขึ้นและ LPL activity ที่ลดลง
Diagnostic Approach to Hyperlipidemia
การวินิจฉัยภาวะ hyperlipidemia อาศัยอาการทางคลินิกและค่าทางชีวเคมี อาการทางคลินิกอาจแตกต่างกันไปในสัตว์ป่วยแต่ละราย ในสุนัขพันธุ์ Miniature schnauzers ที่เป็น idiopathic hyperlipidemia อาจพบค่า fasting serum triglyceride สูงขึ้นมากกว่า 1000 mg/dL) โดยอาจมีหรือไม่มีภาวะhypercholesterolemia หรือค่าเอนไซม์ตับสูงเพิ่มขึ้นร่วมด้วย
สุนัขที่ตรวจพบ hyperlipidemia อาจแสดงอาการอาเจียนหรือรู้สึกไม่สบายท้อง แม้ว่าสุนัขที่ตรวจพบhyperlipidemia ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการทางคลินิก ในแมวที่มีภาวะ hyperchylomicronemia อาจพบผิวหนังผิดปกติที่เรียกว่า cutaneous xanthomas ในสุนัขที่พบ hypertriglyceridemia อาจพบอาการอาเจียน ปวดท้อง อาการชัก
การกินอาหารที่มีไขมันสามารถเพิ่มระดับ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้นานถึง 12 ชั่วโมงตัวอย่างซีรั่มที่มีระดับ triglycerides สูงมากกว่า 300 mg/dL มักพบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเรียกว่า serum lactescence (milkiness)
Therapeutic Approaches
ภาวะ hypertriglyceridemia แก้ไขโดยรักษาโรคที่เป็นสาเหตุหรือที่เกี่ยวข้อง ในสัตว์ที่พบภาวะhyperchylomicronemia ควรจำกัดปริมาณไขมันในอาหาร ข้อมูลด้านโภชนาการแนะนำให้กินอาหารที่มีไขมันไม่เกิน 24 กรัมต่ออาหาร 1000 กิโลแคลอรี สัตว์เลี้ยงที่พบภาวะไขมันในกระแสเลือดสูงควรลดปริมาณไขมันในอาหารลงอย่างน้อย 50% หรือใช้อาหารรักษาโรคสูตรไขมันต่ำ (low fat diet) หรือสามารถใช้อาหาร home-made ไขมันต่ำ(ultra-low-fat) แทนได้(โดยต้องปรึกษานักโภชนาการที่จบด้านนี้โดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์เลี้ยงได้รับอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน)
Dietary Supplements
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ใยอาหาร(fiber), fish oil และไนอาซิน(niacin) สามารถให้เสริมได้ในรายhyperlipidemia
Fiber หรือ ใยอาหาร
ช่วยลดการดูดซึมไขมันในทางเดินอาหารและช่วยลดระดับไขมันในเลือด, กัวกัม(guargum) เป็น ใยอาหารที่ละลายน้ำได้สามารถช่วยลดระดับ cholesterol ในเลือดได้
Fish Oils
Fish oils ประกอบด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว (Omega-3) สามารถช่วยลดระดับ VLDL ได้ทั้งในคนและในสุนัข แม้ว่ากลไกที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการลดการสร้างtriglycerides จากตับ, การเพิ่มการทำงานของ LPL และเพิ่มกระบวนการ beta-oxidation ของกรดไขมัน
Niacin
ไนอะซินในระดับ high doses สามารถลดระดับการสร้าง VLDL จากตับและยังลดการทำงานของ HSL มีการใช้ไนอะซินในการจัดการกับภาวะ hyperlipidemia ในมนุษย์แต่ยังขาดหลักฐานในสุนัขและแมว
ที่มา