การจัดการทางโภชนาการในสุนัขที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบ

Nutritional Management in Canine Acute Pancreatitis

(การจัดการทางโภชนาการในโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน)

ปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเริ่มให้กินอาหารในระยะแรก(เช่น ภายใน 48 ชั่วโมงของการแอดมิทในโรงพยาบาล) ส่งผลดีต่อผลการรักษาทางคลินิกและพบว่าทำให้สุนัขกลับมากินอาหารเองได้เร็วขึ้น

การเริ่มให้กินอาหารในระยะแรก(early enteral nutrition)ในสุนัขที่เป็นตับอ่อนอักเสบช่วยลดการอักเสบของลำไส้ (decrease ileus and inflammation) กระตุ้นการฟื้นฟูลำไส้ (intestinal mucosal regeneration) เพิ่มการไหลเวียนเลือดในทางเดินอาหาร (increase mucosal blood flow) ลดการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อ (decrease protein catabolism) และลดการเกิด bacterial or endotoxin translocation

 

Key Nutritional Factors in Canine Acute Pancreatitis

(ปัจจัยทางโภชนาการที่สำคัญในโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน)

สารน้ำ

น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในสัตว์ป่วยที่มีภาวะอาเจียนเฉียบพลันเนื่องจากภาวะขาดน้ำเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ภาวะแห้งน้ำระดับปานกลางถึงรุนแรงควรแก้ไขด้วยการให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำและควรแก้ไขภาวะแห้งน้ำ, electrolyte imbalance ก่อนการพิจารณาให้สารอาหาร

โปรตีน

การศึกษาพบว่า free amino acids เช่น phenylalanine, tryptophan และ valine ในลำไส้เล็กส่วนต้นสามารถกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์จากตับอ่อนได้รุนแรงมากกว่าการกระตุ้นจากไขมัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป ระดับโปรตีนในอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการฟื้นฟูร่างกายในสุนัขที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบควรอยู่ในช่วง 15 - 30% DM

ไขมัน

สุนัขที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบควรได้รับอาหารที่มีไขมันต่ำ(≤10 % DM ในสุนัขที่อ้วนและ ≤15% DM ในสุนัขที่มีภาวะ hypertriglyceride)

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)

สุนัขและแมวที่มีอาการอาเจียน ท้องเสียมักมีระดับของอิเล็กโทรไลต์ที่ผิดปกติ เช่น mild hypokalemia, hypochloremia และ hypernatremia หรือ hyponatremia มักพบได้ในรายที่มีอาการอาเจียนเฉียบพลัน(และท้องเสีย) โภชนาการที่เหมาะสมควรมีระดับของอิเล็กโตรไลต์เหล่านี้ที่สูงกว่าค่าminimum ที่กำหนดไว้ในสุนัขปกติเล็กน้อย (0.8% to 1.1% potassium (dry matter [DM]), 0.5% to 1.3% DM chloride, and 0.3% to 0.5% DM sodium)

อัตราการย่อยได้ (Digestibility)

อาหารที่ใช้ในรายตับอ่อนอักเสบควรมีอัตราการย่อยได้สูง(อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 85% digestible on a DM basis)

Omega-3 fatty acids

มี EPA และ DHA ช่วยลดการอักเสบของตับอ่อนและอวัยวะข้างเคียงรอบๆที่เกิดการอักเสบ

 

Reference

 

  1. Cridge, H., Twedt, D. C., Marolf, A. J., Sharkey, L. C., & Steiner, J. M. (2021). Advances in the diagnosis of acute pancreatitis in dogs. Journal of Veterinary Internal Medicine, 35(6), 2572-2587.
  2. Walton, S. A., & BScAgr, D. S. Treatment of Acute Pancreatitis in Dogs. Today’s Veterinary Practice. February 17, 2020 | Issue: March/April 2020
  3. Burns, K. M. Key Nutritional Factors in Treating Pancreatitis. Today’s Veterinary Practice. November 29, 2018 | Issue: Winter 2019
  4. Xenoulis, PG 2015. Diagnosis of pancreatitis in dogs and cats. J Small Anim Pract. 56(1): 13-26.
  5. Hand, M.S., Thatcher, C.D., Remillard, R.L., Roudebush, P. & Novotny, B.J., 2011. Small Animal Clinical Nutrition. 5th Edition, Mark Morris Institute
วันที่โพส : 25 สิงหาคม 2566